วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปสิ่งได้จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ในการฝึกงานครั้งนี้ ผมได้ พบสิ่งแปลกใหม่ เจอสิ่งใหม่ๆ ปฎิบัติในสิ่งที่ไม่เคยทำ
เป็นการฝึกฝน และปรับปรุงตัวเองเพื่อเข้าสู่สภาวะประกอบวิชาชีพ


ตลอดเวลา 4เดือนที่ผ่านมา
ผมได้เรียนรู้ระบบการทำงานของที่ Grand Home Mart ในส่วนของ ทีม graphic display ซึ่งเป็น
องค์ประกอบสำคัญของการตลาด ที่เป็น ทั้ง บุ๋นและ บู๊ ในเรื่องของการทำ ป้ายสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูด
ลูกค้า และผมก็ได้ทดลองทำ ได้มีผลงานติดกลับมาด้วย และยังทำให้ผมใช้โปรแกรม ประเภท สร้างสื่อ
เพื่อประกอบอาชีพได้อีกด้วย จากที่ไม่เคยใช้มาก่อน เนื่องจาก ได้สอบถามและขอศึกษาจากพี่ที่ดูแล
ส่วนงานนอกออฟฟิตในส่วนของ display คือการ นำสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทำสำเร็จแล้วไปติดตั้งตามจุดต่างๆภาย
ใน show room ขายสินค้า ว่าควรวางไว้จุดไหน ตรงไหน จำนวนเท่าไร มีการวัดที่ เพื่อสร้างสื่ออีกด้วย
แรกๆ พี่จะพาไปดูพี่ทำงานและสอนงาน ช่วงหลังๆเราเริ่มทำเองได้แล้ว พี่จึงปล่อยให้ทำเองได้เลยโดยไม่
ต้องคอยคุม

ส่วนในเรื่องงานออฟฟิตงานเอกสาร งานข้อมูลต่างๆ ก็จะได้ทำในส่วนของเรื่องข้อมูลลูกค้า การ rescheck ข้อมูล ประวัติลูกค้า และการทำเอกสารสร้างโครงการต่างๆ แต่ในงานที่ตัวผมไม่ชอบก็มีเช่นกัน เช่นงานที่จุกจิกและจำนวนเยอะๆ แล้วต้องทำคนเดียวและมีเวลาจำกัดต้องทำให้ทันภายในเวลาที่กำหนด โดยรวมแล้วที่ทำงานที่นี่ ก็เป็นที่ ที่สามารถศึกษาเรียนรู้งานได้ดีเลยทีเดียว แต่ ที่นี่ไม่เคยมี นศ.ฝึกงานมาก่อน
พี่ที่ดูแลในแผนก จึงไม่ได้ มีระบบต้อนรับ รับน้อง หาตำแหน่งประจำให้ทำ เหมือนอย่างที่อื่น แต่ ก็เป็นสิ่งที่ดี และโชคดีของผมที่ได้ทำแทบจะทุกอย่างทำให้ ได้เรียนรู้ทุกๆอย่างของการตลาด ว่ามีวิธีการ ระบบการทำงานอย่างไร ได้เรียนรู้กลยุทธทางการตลาดด้วย ครับ

หลังจากการฝึกงานและเรียนจบ ส่วนตัวผมจะชอบทำงานเกี่ยวกับ graphic multimedia ซะเป็นส่วนใหญ่
และคงได้นำสิ่งที่ได้ศึกษาเรียนรู้จากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครั้งนี้ ไปใช้แน่นอน ครับ

***ส่วนผลงานที่ได้ทำไว้จะอัพโหลดภาพไว้ที่ เฟสบุ๊ค ครับผม จะมีพวกป้ายต่างๆที่ทำไว้****

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 17 21 ก.พ. 54 - 28 ก.พ. 54

สับดาห์สุดท้าย หลังจากเสร็จงานคุม studio แล้วก็มีงานเล็กๆน้อยๆทำแทนเนื่องจากจะสิ้นสุดการฝึกงานแล้ว
-พิมพ์เอกสารให้พี่
-เดินเอกสาร
-จัดเก็บฉาก อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายแบบ


***ปัญหาที่พบ
1.ระหว่างจัดเก็บอุปกรณ์ ได้ทำอุปกรณ์ชำรุดแตกหักบ้าง
2.พิมพ์เอกสารยังมีคำผิด

***วิธีแก้ปัญหา
1.ซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุดเมื่อเกิดการชำรุด
2.ค่อยๆพิมพ์และตรวจทานดีๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกการแก้ไขปัญหา
-ฝึกสมาธิในการทำงานละเมียดละมัย

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 16 14 ก.พ. 54 - 17 ก.พ. 54

-ทำอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้ ถ่ายแบบใน studio

-ทำฉากต่างๆที่ใช้ถ่ายใน studio-พิมพ์เอกสารให้พี่

-คุม studio และจัดฉากต่างๆ


***ปัญหาที่พบ

1.ไม่มีความชำนาญในการทำงาน ฝีมือ

2.เอกสารเมื่อพิมพ์เสร็จ มีคำผิดเยอะ

3.จำนวนคนไม่พอให้ใช้ทำงานที่ studio


***วิธีแก้ปัญหา

1.ศึกษาดูจากพี่แล้วให้พี่สอน

2.พิมพ์แล้วตรวจทานดูดีๆก่อนให้พี่

3.ทำไปก่อนเอาเท่าที่มี


ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกการทำงานเป็นทีม

-เรียนรู้การถ่ายแบบ การคุม studio

-เรียนรู้วิธีส่งเรื่อง สู่ผู้ บริหารของ บริษัทนี้

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 15 7 ก.พ. 54 - 12 ก.พ. 54

-ทำ reserch จากโปรโมชั่น big อั่งเปา

-เสริฟน้ำและของว่างแก่ลูกค้าผู้มาร่วมงาน-อยู่ประจำบูธภายในงาน

-นำข้อมูลที่ได้จาก การทำ reserch มา คีย์และประมวลผล

-สรุปผลจาก การทำ reserchให้พี่-เตรียมงานถ่ายแบบที่ studioต้อนรับ โปรโมชั่น summer sale

-งานเดินเอกสารต่างๆ


***ปัญหาที่พบ

1.ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือในการทำ reserch

2.ของว่างไม่พอแก่ลูกค้าผู้มาร่วมงาน

3.ทำ reserch อยู่คนเดียวจึงได้ปริมาณที่น้อยกว่าปกติ

4.คอมพิวเตอร์ที่ใช้ สรุปผลและประมวลผล ค้าง


***วิธีแก้ปัญหา

1.ใช้วิธีเข้าหาลูกค้าแล้วถามให้แล้วเราเป็นคนเขียน

2.ขออภัยแก่ลูกค้าที่ของว่างไม่พอ3.พยายาม เซฟงานเรื่อยๆๆ

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกความอดทน

-ฝึกการพูดและสื่อสารต่อลูกค้า

-ฝึกการทำงานเป็นทีม

-เรียนรู้ระบบกลยุทธทางการตลาด

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 14 31 ม.ค. 54 - 4 ก.พ. 54

-ติดตั้งป้าย เทศกาลโปรโมชั่น ตรุษจีนใน showroom

-เดินเอกสารต่างๆ-ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ขาดเหลือให้ แก่ บริษัท

-หาข้อมูลรูปภาพตรุษจีน เพื่อแก้ไขงาน

-อยู่ที่ บูธออกงาน ให้ข้อมูลสินค้า แจกใบปลิว ใน โปรโมชั่น "Big อั่งเปา"

-ทำ reserch แจกแบบสอบถามแก่ลูกค้าผู้มาร่วมงาน


***ปัญหาที่พบ

1.ป้ายที่ทำมามีไม่พอติดตามจุดใน showroom

2.internet ของ บริษัทช้ามาก หาข้อมูลได้ช้าและใช้เวลานาน

3.ตนเองไม่ทราบข้อมูลสินค้า ได้ดีนัก4.ลูกค้า ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำ reserch

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกการทำงานเป็นทีม

-ฝึกการพูด

-ฝึกความมีวินัย

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 13 24 ม.ค. 54 - 28 ม.ค. 54

-ติดตั้งป้าย display ใน showroom จาก suplierธนาคาร
-ไปสาขารามอินทรา ถ่ายรูป และวัดที่ตามจุดต่างๆเพื่อทำป้ายต้อนรับวันตรุษจีน
-หาข้อมูลรูปภาพทำสื่อเกี่ยวกับ ตรุษจีน
-แจกของพรีเมี่ยม ให้แก่ลูกค้าที่นำคะแนนมาแลก-ทำป้ายกราฟฟิกส์งานตรุษจีนช่วยพี่คิดและออกแบบไอเดียต่างๆ

***ปัญหาที่พบ
1.ป้ายมีไม่พอกับจำนวนที่จะติดตั้งใน showroom
2.internet ของ บริษัทช้ามาก หาข้อมูลได้ช้าและใช้เวลานาน
3.คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานเก่าและช้า

***วิธีแก้ปัญหา
1.หาจุดที่ติดตั้งให้ดีและประหยัดจำนวนป้าย
2.พยายามทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายจากสิ่งที่มีอยู่

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกการใช้ โปรแกรม illastartor
-ฝึกการเลือกจุดทำเล ในการวางป้ายต่างๆ

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 12 17 ม.ค. 54 - 21 ม.ค. 54

-ทำ leaflet ส่งให้ลูกค้า ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

-แปะ label ที่อยู่บนซอง-ขน ใบ leaflet จำนวน อีก 40กอง กองละ 50แผ่น

-เดินเอกสารต่างๆ

-ออกแบบ ป้ายรับสมัครงานให้ฝ่ายบุคคล

-ทำ ตัวอย่าง company profile


***ปัญหาที่พบ

1.leaflet ที่ใส่ซอง ใส่ซองแล้วซองฉีก เสียหายไปเยอะพอสมควร

2.เป็นงานที่ไม่ชอบและไม่ถนัด

3.งานออกแบบป้ายไม่มี ลายกราฟฟิกส์หรือ font ที่ต้องการใน คอมพิวเตอร์ที่ทำงาน


***วิธีแก้ปัญหา

1.หาวิธีที่ใส่ โดยซองไม่ฉีกไม่เสียหายให้ได้

2.ทำไปเรื่อยๆจนชำนาญและเริ่มเพลิน3.นำงานออกแบบป้ายกลับมาทำที่บ้านแทน

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกความอดทน

-ฝึกวิธีแก้ปัญหา หาทางออก

-ฝึกการใช้ โปรแกรม illastartor

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 11 4 ม.ค. 54 - 7 ม.ค. 54-

-ทำ leaflet ส่งให้ลูกค้า จำนวน 3500 ซอง

-แปะ label ที่อยู่บนซอง-ขน ใบ leaflet จำนวน40 กอง กองละ 50แผ่น

-เดินเอกสารต่างๆ-เก็บวัสดุตกแต่งใน office พวกสายรุ้ง งานปีใหม่

***ปัญหาที่พบ

1.leaflet ที่ใส่ซอง ใส่ซองแล้วซองฉีก เสียหายไปเยอะพอสมควร

2.เป็นงานที่ไม่ชอบและไม่ถนัด

***วิธีแก้ปัญหา

1.หาวิธีที่ใส่ โดยซองไม่ฉีกไม่เสียหายให้ได้

2.ทำไปเรื่อยๆจนชำนาญและเริ่มเพลิน

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกความอดทน

-ฝึกวิธีแก้ปํญหา หาทางออก

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 10 4 ม.ค. 54 - 7 ม.ค. 54

-เตรียมของจัดงานปีใหม่ของ บริษัท

-หารูปภาพเพื่อสร้าง theme งาน "ลูกทุ่งอินเตอร์" เช่น รูปทุ่งนา วัวและ ควาย

-สร้างป้ายจราจร เพื่อแปะบอก เส้นทางจราจร

-ช่วยจัดสถานที่เผื่อจัดงานปีใหม่

-ศึกษางานกราฟฟิกส์ของพี่

***ปัญหาที่พบ

1.เวลากระชั้นชิดมาก มีเวลา 3วันในการเตรียมงานทั้งหมด

2.คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงาน เก่าและช้าและไม่มีคอมพิวเตอร์ว่างให้ใช้แทน

3.ติดตั้งอุปกรณ์บางอย่างค่อนข้างยากเพราะจำนวนคนไม่พอ


***วิธีแก้ปัญหา

1.แบ่งงานกันให้ถูกคนถูกงาน และชัดเจน

2.ค่อยๆทำงานและ save เรื่อยๆๆกันโปรแกรมค้าง

3.ตามแผนกอื่นมาช่วย

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกทำงานเป็นทีม

-ความสามัคคี

-ฝึกการใช้โปรแกรม illustartor

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 9 27 ธ.ค. 53 - 30 ธ.ค. 53

-จัดสถานที่ต้อนรับปีใหม่ใน showroom เช่น ติดลูกโป่ง,สายรุ้ง

-ออกแบบป้ายกิจกรรมตัดผมฟรีในวันสิ้นปี-ทำความสะอาดออฟฟิต ในวัน 5 ส.

-ช่วยพี่เตรียมของจัดงานปีใหม่ของ บริษัท -ตัดผ้าใบและฉากต่างๆๆเพื่อใช้จัดงานปีใหม่ของบริษัทในวันที่ 7 ม.ค. 54

****ปัญหาที่พบ

1.คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงาน ออกแบบป้าย ค่อนข้างเก่าและช้า ทำให้ทำงานได้ไม่คล่องนัก

2.ทำความสะอาด5 ส.ได้ล่าช้า เนื่องจากฝ่ายการตลาดจะมีของเยอะ ต้องคัดแยกว่าอันไหนทิ้งได้ทิ้งไม่ได้3.ตัดผ้าใบซึ่งผืนนึงค่อนข้างใหญ่ ตัดได้ ไม่ค่อยตรงนักและมีอุปกรณ์ให้ใช้น้อยไม่พอต่อคนทำงาน

***วิธีแก้ปัญหา

1.ขอพี่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีกว่าเพื่อใช้ทำงาน

2.จัดของที่รกใส่ถุงดำไว้ก่อนค่อยคัดแยกทีหลัง3.หาอุปกรณ์ที่ใช้แทนไม้บรรทัดเช่นท่อนไม้มาใช้ ทาบแทน

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกความอดทน

-ฝึกสมาธิ

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่8 20 ธ.ค. 53 - 24 ธ.ค. 53

-นำข้อมูลที่ได้จากการทำ reserch ในงาน จากสัปดาห์ที่แล้ว จาก 3 สาขา คีย์ลง excelจำนวนประมาณ 700 คน

-เดินเอกสารต่างๆให้พี่

-ไปส่งเอกสารให้พี่ที่ ธนาคาร TMB สาขาใหญ่สวนจตุจักร

-ช่วยทำป้ายและของตกแต่งต้อนรับงานปีใหม่-ศึกษาดูงานกราฟฟิกส์ และระบบการทำงานของทีม กราฟฟิกส์

***ปัญหาที่พบ

1.ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามลายมือลูกค้าค่อนข้างอ่านยาก

2.วิธีทำป้ายต่างๆ ต้อง ตัดและแปะ ต้องใช้ ความละเมียดละมัย ตนเองไม่มีความชำนาญดานนี้3.ข้อมูลจากแบบสอบถามมีเยอะและลูกค้าตอบไม่ตรงคำถามซะเป็นส่วนมาก


***วิธีแก้ปัญหา

1.พยายามเดาตัวหนังสือให้ออก

2.ค่อยๆศึกษาดูพี่ว่าทำยังไงแล้วต้องทำให้ได้

3.เดาคำตอบของลูกค้าให้ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกการตัดสินใจ

-ฝึกงานที่ต้องใจเย็นๆและมีสมาธิ

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 7 13 ธ.ค. 53 - 18 ธ.ค. 53

-ช่วยขนของจัดแต่ง showroom
-แม็กใบปลิว ที่จะแจกให้แก่ลูกค้าดูราคาโปรโมชั่น ประมาณ 30000 แผ่น
-ทำ reserch สอบถามลูกค้าในงาน clearant sale
-ประจำบูทใน งาน ภายใน showroom คอยเสริฟน้ำ ของว่างให้ลูกค้าผู้มาร่วมงาน

***ปัญหาที่พบ
1.ลูกค้ามาร่วมงานค่อนข้างเยอะ แต่ผู้เก็บแบบสอบถามมีเราคนเดียว ทำให้เก็บไม่ทันต่อจำนวนลูกค้า
2.ของว่างไม่พอเสริฟต่อลูกค้า
3.ลูกค้าสอบถามข้อมูลสินค้าบางอย่างและโปรโมชั่น ซึ่งเราไม่ได้ทราบทั้งหมดจึงให้คำตอบได้ไม่ดีนัก
4.เป็นงานที่ตนเองไม่ถนัดในเรื่องงานบริการอาจจะทำได้ไม่ดีนัก

***วิธีแก้ปัญหา
1.ใช้วิธีแจกแบบสอบถามแก่ลูกค้าที่นั่งรอ
2.เมื่อลูกค้าถามคำถามที่ตอบไม่ได้ จะให้พี่ที่เป็น sale ช่วยแนะนำ
3.ศึกษาดู พี่ที่ร่วมงานที่บูธว่าต้องทำยังไง

ประโยชน์ที่ได้รับ
-รู้ระบบเวลา ทำงาน event
-ฝึกทำงานเป็นทีม
-ฝึกวิธีการพูดคุย

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 6 ธ.ค. 53 - 9 ธ.ค. 53

สับดาห์นี้ ต้องทำจดหมายเชิญชวนลูกค้า และพับจดหมายใส่ซอง แปะ lable ส่งถึงลูกค้าจำนวนทั้งหมด 3000 กว่าซอง โดยต้องพับกระดาษจดหมายเป็น 3ส่วน ซึ่งมีจำนวนเยอะมากพับจน มือโดนกระดาษบาดกันเลยทีเดียว

**ปัญหาที่พบ
1.การพับกระดาษจำนวนมากๆทำให้ มือลอก และโดนกระดาษบาด
2.วิธีพับ จดหมายเข้าซอง 3ส่วน ต้องพับกะช่วงพับให้ดีๆมิฉะนั้นจะใส่ซองไม่พอดีใช้เวลาปรับให้คล่องนานอยู่พอสมควรเพราะตนเองไม่ถนัดงานแบบนี้3.เครื่องปริ้นมีปัญหาเนื่องจากปริ้นจดหมายเยอะมากจำนวน 3000กว่าแผ่นทำให้ เครื่องมีอาการรวนและปริ้นไม่ได้ไปหลายชั่วโมง

***วิธีแก้ปัญหา
1.แปะพลาสเตอร์ตามนิ้วที่ต้องใช้จับกระดาษ
2.สร้างแม่แบบมา 1อันแล้วทำตาม
3.พักเครื่องปริ้น ก่อนแล้วค่อยปริ้นต่อ

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกทำงานเอกสาร
-ฝึกความอดทด

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่ 5 29 พ.ย. 53 - 3 ธ.ค. 53

สับดาห์นี้จะ เป็นการ คีย์ข้อมูล จากโทรศัพท์สอบถามจากลูกค้า และ คีย์ เบอร์โทรศัพท์ที่จะส่ง SMS เชิญชวนลูกค้ามาซื้อของใน โปรโมชั่น clearant sale และ ตกแต่ง showroomต้อนรับ ปีใหม่และ คริสมาสต์ และทำ sum ข้อมูลสรุปให้พี่ ทุกวัน


**ปัญหาที่พบ
1.มีลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือในการสอบถามข้อมูลเนื่องจากกลัวเป็นมิจฉาชีพ
2.เบอร์ที่ คีย์ส่ง SMS เป็นเบอร์ที่ลงด้วยลายมือทำให้ ตัวเลขบางตัวค่อนข้างอ่านยาก
3.วิธีตกแต่งต้นคริสมาสต์ต้องปีน และระมัดระวังรอบคอบ พลาดจะทำให้เกิดความเสียหายได้ทำให้ทำงานได้ช้า

***วิธีแก้ปัญหา
1.ใช้น้ำเสียง ที่เชิญชวนให้ลูกค้าให้ข้อมูล
2.ใช้วิธีเพ่งดีๆๆจึงจะอ่านออก3.งานที่ละเมียดละไมจะให้พี่เค้าทำแทนเพราะกลัวทำพัง

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกทำงานเป็นทีม
-รู้ระบบกลยุทธต่างๆของการตลาด

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่4 22 พ.ย. 53 - 26 พ.ย. 53

-โทร recheck ข้อมูลลูกค้า

-เดินเอกสาร-ศึกษาและฝึกทำงานกราฟฟิกส์

-สรุปผลการโทรที่ผ่านมา-เก็บงาน กราฟฟิกส์โดยเซฟเป็นภาพให้พี่

****ปัญหาที่พบ

1.ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือจากการ recheck

2.ยังไม่มีความชำนาญในโปรแกรม illastartor

***วิธีแก้ไขปํญหา

1.ใช้น้ำเสียงที่ อ่อนนุ่มและชวนลูกค้าคุยเพื่อแสดงสัมพันธ์ที่ดี

2.สอบถามในส่วนที่ทำไม่ได้จากพี่ฝ่าย กราฟฟิกส์

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกการพูด

-ฝึกการใช้โปรแกรม illastartor

-ฝึกการสรุปผล-ฝึกการใช้ mac

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่3 15 พ.ย. 53 - 19 พ.ย. 53

-โทร recheck ข้อมูลลูกค้า
-เดินเอกสาร-ศึกษาและฝึกทำงานกราฟฟิกส์
-สรุปผลการโทรที่ผ่านมา

****ปัญหาที่พบ
1.ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือจากการ recheck
2.ยังไม่มีความชำนาญในโปรแกรม illastartor

***วิธีแก้ไขปํญหา
1.ใช้น้ำเสียงที่ อ่อนนุ่มและชวนลูกค้าคุยเพื่อแสดงสัมพันธ์ที่ดี
2.สอบถามในส่วนที่ทำไม่ได้จากพี่ฝ่าย กราฟฟิกส์

ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกการพูด
-ฝึกการใช้โปรแกรม illastartor
-ฝึกการสรุปผล

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่2 8 พ.ย. 53 - 12 พ.ย. 53

-โทร recheck ข้อมูลลูกค้า

-เดินเอกสาร

-ศึกษาและฝึกทำงานกราฟฟิกส์

****ปัญหาที่พบ

1.ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือจากการ recheck2.ยังไม่มีความชำนาญในโปรแกรม illastartor
***วิธีแก้ไขปํญหา

1.ใช้น้ำเสียงที่ อ่อนนุ่มและชวนลูกค้าคุยเพื่อแสดงสัมพันธ์ที่ดี

2.สอบถามในส่วนที่ทำไม่ได้จากพี่ฝ่าย กราฟฟิกส์

ประโยชน์ที่ได้รับ

-ฝึกการพูด

-ฝึกการใช้โปรแกรม illastartor

รายงานการปฏิบัติงาน สัปดาห์ที่1 1 พ.ย. 53 - 5 พ.ย. 53

-ช่วยงานในฝ่ายกราฟฟิกส์
-โทรไป Recheck ข้อมูลลูกค้า
-ออกแบบป้ายลดราคา
-งานเดินเอกสาร


***ปัญหาที่พบ
1.ลูกค้าไม่ให้ความร่วมมือจากการ recheck
2.ยังไม่มีความชำนาญในโปรแกรม illastartor

***วิธีแก้ไขปํญหา
1.ใช้น้ำเสียงที่ อ่อนนุ่มและชวนลูกค้าคุยเพื่อแสดงสัมพันธ์ที่ดี
2.สอบถามในส่วนที่ทำไม่ได้จากพี่ฝ่าย กราฟฟิกส์
ประโยชน์ที่ได้รับ
-ฝึกการพูด
-ฝึกการใช้โปรแกรม illastartor

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สัปห์ดาที่ 4 สัปห์ดาแห่งความวุ่นวาย




ยิ่งใกล้สิ้นปี โครงการต่างๆต้องเกิดขึ้นเยอะแผนกการตลาดต้องคิด โครงการ โปรโมชั่น รูปกราฟฟิกส์ และ การจัดงานปีใหม่ของบริษัท สัปห์ดานี้พี่เค้าก็ให้ผมทำข้อมูลลูกค้าเหมือนเดิมแต่เป็นลูกค้าประเภทบัตรยังไม่หมดอายุ อีกจำนวน 219 ราย และติดต่อลูกค้ากลุ่มนี้ได้ค่อนค้างเยอะ ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสถาปนิก และผู้บริหารหรือ เจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และ อินทีเรียดีไซน์ เจอลูกค้าประเภทนี้ บางคนเป็นอัจฉริยะ แล้วคงจะเก็บกดมากครับ พี่เค้าเล่นคุยกับผมซะครึ่งชั่วโมงสอนงานผม สอนทุกอย่าง ก็สนุกดีครับ และเพิ่งรู้ตัวว่างานที่ทำนี้เป็นงานที่สำคัญมากไม่ใช่การทดลองงานแต่เป็นการทำงานจริงๆจังๆ เพราะข้อมูลลูกค้า ต้องเป็นความลับแต่พี่เค้ากลับไว้ใจผมและให้งานนี้ผมทำ ยังมี รออีก เป็น พัน list 4 เดือนนี้ผมคงได้ทำ งานเป็น CRM ตลอดแน่นอนนเลยยย แล้วจะมาอัพเดทอีกอาทิตย์หน้าครับ กำลังลุ้นอยู่ว่าจะได้ เบี้ยเลี้ยงไหม เอิ้กๆๆ




ปล ได้เล่นเครื่อง mac ที่ฝ่ายกราฟฟิกส์ใช้งานด้วยละครับ

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาทิตย์ที่สามครับ งานของอาทิตนี้คือการโทรหาลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้ ทั้งหลายเป็นครั้งที่สองครับ จำนวน 127 คน เมื่อทำเสร็จสามารถ กู้ลูกค้าได้ อีก 61 รายครับ เหลือจำนวนลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้อีก 66 รายครับ
ผมทำงานนี้ไปซักพักจึงรู้สึกว่างานที่ผมทำไม่ใช่แค่ฝึกงานหรืองานที่ทดลองงานครับ แต่เป็นงานจริงๆใช้งานจริงๆ


พี่เค้าเอาข้อมูลที่ผมทำไปใช้งานจริงๆๆครับ รู้สึกดีมากเลยที่พี่เค้าไว้วางใจ ให้งานเหมือน พนักงานตำแหน่ง CRM แทนที่จะให้งานที่ไมสำคัญแบบอื่นๆ แต่ก็เบื่อเหมือนกันนะครับ วันๆๆ โทรหาคุยกับคนเป็นร้อยคน เบลอเหมือนกัน จนผมเริ่มเกิดอาการ เบื่องานนี้แล้ว แต่ต้องทำให้เสร็จ เป็นจำนวนประมาณแปดร้อยรายครับ

ผมจะเริ่มทำงานโทรหาสลับกับงานกราฟฟิกหรืองาน Display อื่นๆสลับๆไปครับเพื่อการแก้อาการเบื่องานโทรหาลูกค้า ขอพักบ้างอะไรบ้างครับ แล้วเด๋วจะมาอัพ ของอาทิตย์ที่ 4 ในวัน อาทิตย์ครับ เริ่มชินแล้วครับ คิดดูนะครับ "นาย ตะวัน " มาทำงาน เกือบๆๆ เดือนแล้ว แต่ตื่นเช้าได้ทุกวัน เป็นไปได้เหรอ !!!!

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาทิตย์แห่งข้อมูล










ข้อมูลแล้วก็ข้อมูลแล้วก็ข้อมูลล อาทิตย์ที่สองผมได้ ทำข้อมูล โดยการ โทรหา ลูกค้า ช่างและผู้รับเหมาที่ เคยมาซื้อและหายไปสองปี ว่าพวกเค้าหายไปไหนจำนวน 360 ราย
เหมือนทำแบบสอบถามเลยครับ แล้วก็ Recheckที่อยู่ ของลูกค้าเพราะจะทำการส่งบัตรสมาชิกใบใหม่ไปให้ลูกค้าครับ
ลูกค้าก็มีหลายประเภท บางคนยอมให้ข้อมูลดีๆๆ(มีเยอะครับประเภทนี้) บางคนรำคาญและไม่ให้ความร่วมมือ(ค่อนข้างน้อย)
ก็สนุกดีครับได้คุยกับใครที่ไม่รุ้จักทั้งวัน แต่ ไม่รู้จะเป็นเนื้องอกในสมองหรือเปล่าจับโทรศัพท์ทั้งวันเลยยวันนึงอย่างต่ำๆ ก็โทรได้ 50 Record ครับเมื่อได้ข้อมูลแล้ว จะทำการจด รายละเอียดไว้แล้วมา คีย์ใส่ Excell ทีหลังครับ เรามาดูภาพกันดีกว่า ข้อมูลแล้วก็ข้อมูลลล พอดีไม่ค่อยมีเวลามาได้อัพของสัปดาห์ที่แล้วก็เลยมาอัพวันนี้ครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


อาทิตย์นี้ได้ ช่วยงานในฝ่ายกราฟฟิกส์ ซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนงาน ที่จะได้รับและได้ทำต่อไปคือ งาน Recheck ข้อมูลลูกค้าจำนวนพันกว่า ราย ซึ่งต้องบันทึก แกไขข้อมูล เก่า เบื่อ เป็นฐานข้อมูลของ องค์กร โดย การโทรศัพท์ไปหาและสอบถามลูกค้าที่เป็นสมาชิกของ บริษัท แกรนด์โฮมมาร์ท ตัวผมขอนำผลงานในอาทิตย์นี้มาอัพเดทให้ชมกันนะครับ เป็นงาน ออกแบบ ป้ายโฆษณา ลดราคาประจำเดือน พฤศจิกายน




วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ใหม่ๆๆ ทั้งในด้าน ปฏิบัติ และทฤษฎี
ทำให้ได้พัฒนาตนเอง ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ในด้าน ปฏิบัติ ที่ได้ไปกระทำการ ฝึกปฏิบติฝึกงาน ทีห้องศูนย์สนเทศ
ได้ปฏิบัติงานที่ตนเองไม่เคยได้ทำหรือได้สัมผัสมากอน งานที่ต้องงุ้นง่วนอยู่กับเอกสาร ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการกกะทำที่ต้องใช้สมาธิมาก
และตัวข้าพเจ้าเองเป็นคนที่ไม่มีสมาธิสั้น แต่หลังจากได้ ผ่านการฝึกปฏิบัติงาน ทำให้ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองให้สุขุมรอบครอบขึ้น

ส่วนในด้านทฤษฎี ได้เรียนรู้หลักวิชาของสายแขนงๆต่างๆ ทำให้ ตนเองรอบรู้มากขึ้น จากที่ได้รับฟังการบรรยายในแต่ละสัปดาห์
และได้เรียนรู้หลักเกณฑ์การประพฤติตนเองให้มีกฎระเบียบเป็นที่สังคมยอมรับ ทำให้การเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ได้อะไรที่มากกว่าการนั่งเรียนไปวันๆ

DTS10-15-09-2552

การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบ มีแบบแผน ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล สามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพการเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเรียงลำดับที่ดีและเหมาะสมกับระบบงาน
1.เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม
2.เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3.จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่

วิธีการเรียงลำดับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.การเรียงลำดับภายใน (internal sorting) เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
2.การเรียงลำดับแบบภายนอก (external sorting) เป็นการเรียนลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง เป็นการเรียงลำดับข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (file)


การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)ข้อมูลจะอยู่ทีละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
1.ในรอบแรกจะทำการค้นหาข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยที่สุดมาเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 1
2.ในรอบที่สองนำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยรองลงมาไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่สอง
3.ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกค่า ในที่สุดจะได้ข้อมูลเรียงลำดับจากน้อยไปมากตามที่ต้องการ

การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
1.ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน
2.ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากให้นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำข้อมูล ตัวที่มีค่ามากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่าน้อยการจัดเรียงลำดับแบบฟองเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนมาก เป็นวิธีการเรียงลำดับที่นิยมใช้กันมากเพราะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS09-01-09-2552

Graphกราฟ (Graph)


Graphกราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น อีกชนิดหนึ่ง กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีการนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา ที่ค่อนข้างซับซ้อนเช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์
นิยามของกราฟกราฟ
เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นที่ประกอบ ด้วยกลุ่มของสิ่งสองสิ่งคือ
(1) โหนด (Nodes) หรือ เวอร์เทกซ์(Vertexes)
(2) เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
กราฟ ที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่ากราฟแบบไม่มีทิศทางและถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่ มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบมีทิศทางบางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ

การเขียนกราฟ
เพื่อแสดง ให้เห็นความสัมพันธ์ ของสิ่งที่เราสนใจแทนโหนดด้วย จุด (pointes) หรือวงกลม (circles)ที่มีชื่อหรือข้อมูลกำกับ เพื่อบอกความแตกต่างของแต่ละโหนดและเอ็จแทนด้วยเส้นหรือเส้นโค้งเชื่อมต่อ ระหว่างโหนดสองโหนดกราฟแบบไม่มีทิศทางเป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตอาจจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง

การแทนกราฟในหน่วยความจำ
วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมาที่สุดคือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ

การท่องไปในกราฟ
การ ท่องไปในกราฟ (graph traversal)คือกระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ โดยมีหลักในการทำงานคือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว สำหรับการท่องไปในทรีเพื่อเยือนแต่ละโหนดนั้นจะมีเส้นทางเดียวแต่ในกราฟ ระหว่างโหนดอาจจะมีหลายเส้นทาง

การท่องไปในกราฟมี 2 แบบดังนี้
- การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal)วิธีนี้ทำโดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น ต่อมาให้เยือนโหนดอื่นที่ใกล้กันกับโหนดเริ่มต้นทีละระดับจนกระทั่งเยือน หมดทุกโหนดในกราฟ
- การท่องแบบลึก (Depth First Traversal)การทำงานคล้ายกับการท่องทีละระดับของทรี โดยกำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกและเยือนโหนดถัดไปตามแนววิถีนั้นจนกระทั่งนำไป สู่ปลายวิถีนั้น จากนั้นย้อนกลับ (backtrack) ตามแนววิถีเดิมนั้น จนกระทั่งสามารถดำเนินการต่อเนื่องเข้าสู่แนววิถีอื่น ๆ เพื่อเยือนโหนดอื่น ๆ ต่อไปจนครบทุกโหนด

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS08-25-08-2552

บทที่ 8
Trees and Application
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น (Hierarchical Relationship)ได้มีการนำรูปแบบทรีไปประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ส่วนมากจะใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆ โครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา เราจะเรียกโหนด "โหนดแม่" (Parent orMother Node) โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า "โหนดลูก" (Child or Son Node) โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node) โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings) โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)

นิยามของทรี

1. นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น

2. นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเคอร์ซีฟทรีประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่าโหนด โดยที่ ถ้าว่าง ไม่มีโหนดใด ๆ เรียกว่านัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็นทรีย่อย (Sub Tree)T1, T2, T3,…,Tk โดยที่ k>=0 และทรีย่อยต้องมีคุณสมบัติเป็นทรี

3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน หรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด


4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์ โดยต้องเป็นทรีที่คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน

5. กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด

6. ระดับของโหนด (Level of Node) คือระยะทางในแนวดิ่งของโหนดนั้น ๆ ที่อยู่ห่างจากโหนดราก เมื่อกำหนดให้ โหนดรากของทรีนั้นอยู่ระดับ 1 และกิ่งแต่ละกิ่งมีความเท่ากันหมด คือ ยาวเท่ากับ 1 หน่วย ซึ่งระดับของโหนดจะเท่ากับจำนวนกิ่งที่น้อยที่สุดจากโหนดรากไปยังโหนดใด ๆ บวกด้วย 1และจำนวนเส้นทางตามแนวดิ่งของโหนดใด ๆ ซึ่งห่างจากโหนดราก เรียกว่า ความสูง (Height) หรือความลึก (Depth)


การแทนที่ทรีในหน่วยความจำหลัก

การ แทนที่โครงสร้างข้อมูลแบบทรีในความจำหลักจะมีพอยเตอร์เชื่อมโยงจากโหน ดแม่ไปยังโหนดลูก แต่ละโหนดต้องมีลิงค์ฟิลด์เพื่อเก็บที่อยู่ของโหนดลูกต่าง ๆ นั่นคือจำนวน ลิงค์ฟิลด์ของแต่ละโหนดขึ้นอยู่กับจำนวนของโหนดลูก การแทนที่ทรี ซึ่งแต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์ไม่เท่ากัน ทำให้ยากต่อการปฏิบัติการ วิธีการแทนที่ที่ง่ายที่สุดคือ ทำให้แต่ละโหนดมี จำนวนลิงค์ฟิลด์เท่ากัน

DTS07-11-08-2552

สรุป Queue
โครงสร้างข้อมูลแบบ คิวเป็นโครงสร้างเชิงเส้นที่มีลักษณะของการทำงานตรงกันข้ามกับสแตกคือ หากมีการนำเข้าข้อมูลใดก่อนเมื่อต้องการเรียนใช้ก็จะเรียกใช้ข้อมูลที่เข้า มาก่อน ถือเป็นรูปแบบของการทำงานที่สามารถพบเห็นได้ในปัจจุบันมากที่สุดในลักษณะ ของการเรียงต่อแถวหากใครที่มาต่อแถวเพื่อทำกิจกรรมใดก่อนก็จะมีสิทธิ์ได้ทำ กิจกรรมนั้น ๆ ก่อน คนที่มาทีหลังเป็นเช่นนี้ไปจนกว่าจะถึงลำดับสุดท้าย


โครงสร้างของคิว
- ข้อมูลใดเข้ามาก่อน ก็จะดำเนินการก่อน หากเข้ามาทีหลังก็จะดำเนินการทีหลังเราเรียกว่า First in first out (FIFO) หรือเข้าก่อนออกก่อน
สำหรับการที่มีข้อมูลเข้ามาให่ในคิวและต่อด้าน rear จะเรียกการดำเนินการในลักษณะนี้ว่าEnqueue และสำหรับการนำเอาข้อมูลในส่วน Front ออกไปจากคิวจะเรียกการดำเนินการในลักษณะนี้ว่า Dequeue


พื้นฐานการดำเนินการกับคิว
1. Enqueue หรือ การนำเข้าข้อมูลของคิวนั้นแรกเริ่มหากมีการนำเข้าข้อมูลแรกเข้าสู่คิวแล้ว ข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลอันดับแรกและเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลเข้ามาอีกข้อมูล ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็จะต่อท้ายในส่วนของ rear นั่นก็คือ การต่อท้ายข้อมูลแรกนั่นเอง
ดังภาพ
2. Dequeue หรือ การนำข้อมูลออก ถือเป็นการดำเนินการพื้นฐานอีกประการของโครงสร้างคิวที่จะนำออกข้อมูลซึ่ง ถือเป็นสมาชิกของคิวโดย จะกระทำเฉพาะส่วนหัวหรือ Front ของโครงสร้างเท่านั้น
ดังภาพ
ทฤษฏีด้านการดำเนินการ
1. การดำเนินการสร้างคิว (Queue Create)การดำเนินการนี้เป็นขั้นแรกเริ่มของการจองพื้นที่บนหน่วยความจำ เพื่อให้คิวนั้นสามารถที่จะเข้าใช้งานในการเก็บข้อมูลได้และค่าเริ่มต้นของ คิวจะเป็นคิวที่ไม่มีข้อมูลหรือคิวว่าง
2. การดำเนินการ Enqueueการดำเนินการ Enqueue เป็นขั้นตอนของการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างคิว โดยการนำเข้าข้อมูลนั้นจะต้องทำงานเป็นกลไกที่ลำดับตามการมาก่อน หลัง สำหรับชนิดของข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลมาตรฐาน
3. การดำเนินการ Dequeueการ Dequeue จะดำเนินการดึงข้อมูลออกจากโครงสร้างซึ่งจะกระทำเฉพาะส่วนหัวของข้อมูลเท่านั้น
4. การดำเนินการตรวจสอบคิวว่างการตรวจสอบคิวว่างเพื่อที่จะไม่ให้เกิดข้อผิด พลาดในกรณีที่ต้องการนำเอาข้อมูลออกจากคิวซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบก่อนทุก ครั้ง เพราะถ้าหากคิวนั้นไม่มีข้อมูลอยู่แล้วพยายามดึงข้อมูลออกก็จะเกิดข้อผิด พลาด
5. การดำเนินการตรวจสอบคิวเต็มกรณีที่ต้องการนำเอาข้อมูลเข้าสู่โครงสร้างคิว จะต้องมีการตรวจสอบก่อนเสมอว่าคิวมีข้อมูลเต็มพื้นที่ที่จองไว้หรือยังหาก ข้อมูลนั้นเต็มพื้นที่ที่ไว้ก็จะไม่สามารถนำเข้าข้อมูลได้อีก
6. การดำเนินการล้างคิวการคิวเป็นการล้างข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในโครงสร้าง
สรุป Queue (ต่อ)
การแทนที่ข้อมูลของคิว
สามารถทำได้ 2 วิธี คือ1. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์2. การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การแทนที่ด้วยลิงค์ลิสต์ (Link List Implemention Of Queue)
สำหรับ การแทนคิด้วยโครงสร้างลิงค์ลิสต์นั้นมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการแทน สแตกด้วยลิงค์ลิสต์ คือต้องการปรับโครงสร้างให้สามารถเพิ่มหรือลดได้แบบไม่ตายตัว(Dynamic) ซึ่งลักษณะของโครงสร้างก็ยังคงประกอบไปด้วยพอยน์เตอร์ในการชี้ตำแหน่งfront และ rear ส่วนการลิงค์ของข้อมูลแต่ละโหนดก็จะใช้พอยน์เตอร์ของแต่ละโหนดเชื่อมโยงกัน
จาก ภาพ เป็นรูปแบบของโครงสร้างคิวที่แทนด้วยลิงค์ลิสต์ คิวนี้จะประกอบด้วยโหนดต่างๆซึ่งก็คือเรคอร์คที่จัดเก็บข้อมูลและลิงค์ไป ยังโหนดต่อไป การชี้ของพอยน์เตอร์ frontและ rear นั้นจะถูกเก็บเป็นโฆนดเช่นเดียวกันโดย front จะเป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดตัวแรก ส่วน rear จะเป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดสุดท้า้ย เมื่อมีการดำเนินการกับคิว ก็จะดำเนินการตามการทำงานคือการ Enqueue และ Dequeue การ Enqueue จะดำเนินการนำข้อมูลเพิ่มในส่วน rear ส่วนการ Dequeue จะดำเนินการในส่วนของ front
การดำเนินการกับคิวที่แทนด้วยโครงสร้าง ลิงค์ลิสต์สำหรับการดำเนินการที่สำคัญนั้นคือการดำเนินการ Enqueue การดำเนินการ Dequeue และการตรวจสอบคิวว่าง
1, การดำเนินการ Enqueueการดำเนินการ Enqueue ทำงานเช่นเดียวกันกับการแทรกโหนดในส่วนท้ายของลิสต์คือเมื่อมีการ Enqueue ข้อมูลใหม่เข้ามาก็จะเซตค่าของพอยน์เตอร์ให้ชี้มายังโหนด rear และกำหนดค่าการเชื่อมโยง = nil จากนั้นเซตพอยน์เตอร์ rear ให้ชี้มายังโหนดสุดท้ายแสดงได้ดังภาพ
2. การดำเนินการ Dequeueการดำเนินการ Dequeue จะดำเนินการในส่วน front หรือที่โหนดตัวแรกของโครงสร้างโดยเซตค่าพอยนเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดตัวแรก เปลี่ยนเป็นชี้ไปยังโหนดตัวถัดไป ทำให้โหนดตัวแรกถูกลบออกและโฆนดที่เป็นตัวแรกคือโหนดที่พอยน์เตอร์ front ชี้อยู่ปัจจุบัน ดังภาพ
3. การดำเนินการตรวจสอบคิวว่างการดำเนินการตรวจสอบคิวว่างเป็นการตรวสอบคิวว่า มีข้อมูลหรือไม่ เพื่อที่จะสามารถทราบได้ว่าหากในโครงสร้างนั้นมีข้อมูลอยู่ ก็สามารถที่จะทำการ Dequeu ข้อมูลออกไปได้ แต่ในกรณีที่คิวไม่มีข้อมูลก็จะมีการเซตค่าของโหนดที่จัดเก็บพอยน์เตอร์ front และ rear ให้มีค่าเป็น nil
การแทนที่ด้วยอาร์เรย์ (Array Implemention Of Queue)
การ แทนโครงสร้างคิวด้วยอาร์เรย์นั้นจะทำให้สามารถกำหนดจำนวนของการจองพื้นที่ บนหน่วยความจำได้และโดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะการทำงานของคิวที่มีการทำงาน ของคิวที่มีการทำงานแบบเชิงเส้นจึงมีการใช้อาร์เรย์ในการนำข้อมูลเข้าด้าน ท้ายและนำข้อมูลออกในส่วนหัว
โครงสร้างของการแทนคิวด้วยอาร์เรย์
ใน การแทนคิวด้วยอาร์เรย์นั้น จะต้องมีการระบุจำนวนสูงสุดของพื้นที่เก็บข้อมูล (Maxsize)พร้อมกันกับกำหนดพอยน์เตอร์ขึ้นมาอีก 2 ตัวคือ front และ rear เพื่อใช้นการชี้ค่าข้อมูลที่อยู่ส่วนหัวและส่วนท้ายดังภาพ
ส่วนการ Enqueue นั้นจะกระทำที่ส่วนของ Rear ทำให้ Rear มีการเพิ่มตำแหน่งขึ้นมา
ส่วนการ Dequeue นั้นจะกระทำที่ส่วนของ Front คือเลื่อน front จาก 0 ไปเป็น 1 ดังภาพ
การประยุกค์การใช้งานในระบบปฏิบัติการ
ตัว อย่างเช่น การทำบัฟเฟอร์ (Buffering)การทำบัฟเฟอร์จะใช้ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์มีการทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันยกตัวอย่างเช่น การทำงานของเครื่องพิมพ์กับ CPUซึ่งถือว่ามีการทำงานในอัตราความเร็วที่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อต้องการส่งผ่านข้อมูลหากัน CPU ซึ่งมีการทำงานด้วยความเร็วจะทำการเก็บการประมวลผลส่งไปยังบัฟเฟอร์ก่อน เมื่อทำงานใดเสร็จบัฟเฟอร์ก็จะส่งต่อการทำงานให้เครื่องพิมพ์ทำงานจนกว่าจะ หมดข้อมูลในบัฟเฟอร์สำหรับกาทำงานของ CPU และการของเครื่องพิมพ์

DTS06-04/08/2009

สแตก(stack)
สแตก(Stack) คืออะไร
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสแตก
โครง สร้างข้อมูลที่สำคัญและมีลักษณะเรียบง่ายซึ่งใช้แถวลำดับเป็นโครงสร้าง สำหรับเก็บข้อมูลพื้นฐานได้แก่สแตก เพราะภาษาคอมพิวเตอร์ส่วนมากกำหนดชนิดแถวลำดับไว้ล่วงหน้าและการทำงานของ แถวลำดับสะดวกและเรียบง่าย
สแตกเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลิเนีย ร์ลิสต์(linear list) ที่สามารถนำข้อมูลเข้าหรือออกได้ทางเดียวคือส่วนบนของสแตกหรือ หรือเรียกว่า ท๊อปของสแตก (Top Of Stack) ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเรียกว่า ไลโฟลิสต์ (LIFO list: Last-In-First-Out list) หรือ พูชดาวน์ลิสต์ (Pushdown List) คือสมาชิกที่เข้าลิสต์ที่หลังสุดจะได้ออกจากลิสต์ก่อน หรือ เข้าหลังออกก่อน การเพิ่มข้อมูลเข้าสแตกจะเรียกว่าพูชชิ่ง (pushing) การนำข้อมูลจากสแตกเรียกว่า ป๊อปปิ้ง (poping) การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตกทำที่ท๊อปของสแตก ท๊อปของสแตกนี้เองเป็นตัวชี้สมาชิกตัวท้ายสุดของสแตก

ตัวอย่างการทำ งานแบบโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกที่สามารถเห็นได้ในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ การวางจานซ้อนกันต้องวางจานลงบนกล่องเก็บจานจากล่างสุดที่ละใบ และสามารถใส่ได้จนเต็มกล่อง และเมื่อมีการวางจานจนเต็มกล่องแล้วจะไม่สามารถวางจานซ้อนได้อีกเพราะกล่อง มีสภาพเต็ม แต่เมื่อเราจะหยิบจานไปใช้ เราต้องหยิบใบบนสุด ซึ่งเป็นจานที่ถูกวางเก็บเป็นอันดับสุดท้ายออกได้เป็นใบแรก และสามารถหยิบออกที่ละใบจากบนสุดเสมอ ส่วนจานที่ถูกวางเก็บเป็นใบแรก จะนำไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อนำจานที่วางทับมันอยู่ออกไปใช้เสียก่อน และจะหยิบออกไปใช้เป็นใบสุดท้าย
ล่างส่วนประกอบของสแตก
การนำ สแตกไปใช้งานนั้นไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสแตกแบบแถวลำดับ(array)หรือ แบบลิงค์ลิสต์ (link list) เราจะมีตัวแปรตัวหนึ่งที่ใช้เป็นตัวชี้สแตก(stack pointer ) เพื่อเป็นตัวชี้ข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก ซึ่งจะทำให้สามารถจัดการข้อมูล ที่จะเก็บในสแตกได้ง่าย ดังนั้นโครงสร้างข้อมูลแบบสแตกจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ
ตัวชี้สแตก ( Stack Pointer ) ซึ่งมีหน้าที่ชี้ไปยังข้อมูลที่อยู่บนสุดของ สแตก ( Top stack )สมาชิกของสแตก ( Stack Element ) เป็นข้อมูลที่จะเก็บลงไปในสแตก ซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน เช่น ข้อมูลชนิดจำนวนเต็ม เป็นต้นนอกจากนี้ยังต้องมีตัวกำหนดค่าสูงสุดของสแตก ( Max Stack ) ซึ่งจะเป็นตัวบอกว่าสแตกนี้สามารถเก็บ จำนวนข้อมูลได้มากที่สุดเท่าไร เปรียบเทียบส่วนประกอบของสแตกได้กับการให้ สแตกเป็นกระป๋องเก็บลูกเทนนิส ส่วน Stack Elements หรือสมาชิกของสแตก คือ ลูกเทนนิส ส่วนตัวชี้สแตกเป็นตัวบอกว่าขณะนี้มีลูกเทนนิสอยู่ในกระป๋องกี่ลูก ส่วน Max Stack เป็นตัวบอกว่า กระป๋องนี้เก็บลูกเทนนิสได้มากที่สุดเท่าไร
การจัดการ กับสแตก
ในการทำงานของสแตก ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ การเพิ่มข้อมูลลงบนสแตก (pushing stack) และ การดึงข้อมูลออกจากสแตก (poping stack)
1. การเพิ่มข้อมูลในสแตก (pushing stack) เป็นการนำข้อมูลเข้าสู่สแตก ซึ่งการกระทำเช่นนี้ เราเรียกว่า push ซึ่งโดยปกติก่อนที่จะนำข้อมูลเก็บลงในสแตกจะต้องมีการตรวจสอบพื้นที่ ในสแตกก่อน ว่ามีที่เหลือว่างให้เก็บข้อมูลได้อีกหรือไม่ในการเพิ่มข้อมูลในสแตก (pushing) สามารถทำได้โดยให้ทับบนข้อมูลสุดท้ายในสแตก และจะสามารถเพิ่มเข้าได้เรื่อย ๆ จนกว่าสแตกจะเต็ม ความหมายของคำว่า สแตกเต็ม คือท๊อปของ สแตกชี้ที่บนสุดของสแตก เช่น ถ้า สแตกนั้นจองเนื้อที่ไว้ N เนื้อที่ หมายถึงสามารถบรรจุสมาชิกในสแตกได้ N ตัว หากเป็นสแตกว่าง ค่าของท๊อปจะเป็นศูนย์ แต่หากสแตกเต็ม ค่าท๊อปจะเป็น N นั้นแสดงว่าเมื่อท๊อปชี้ที่ N หรือค่าของท๊อป เท่ากับ N ก็จะไม่สามารถ push ข้อมูลลง สแตกได้
นิยาม Push (S,x)
ถ้าให้ S เป็นสแตก และ x เป็นข้อมูลที่ต้องการใส่ในสแตก หรือดึงออกสแตก กระบวนการ push (S, x ) หมายถึง การ push ข้อมูล x ลงสแตก โดยการ push จะเริ่มจากสแตกว่างโดยให้ค่า ท๊อปมีค่าเป็นศูนย์ เมื่อมีการ push ข้อมูลเข้าในสแตก ค่า ของท๊อปจะเปลี่ยนเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งทุกครั้งที่ทำการ push
2. การดึงข้อมูลจากสแตก (Popping Stack) หมายถึงการเอาข้อมูลที่อยู่บนสุดในสแตก หรือที่ชี้ด้วย ท๊อปออกจากสแตก เรียกว่าการ pop ในการpop นั้นเราจะสามารถ pop ข้อมูลจากสแตกได้เรื่อย ๆ จนกว่า ข้อมูลจะหมดสแตก หรือ เป็นสแตกว่าง โดยก่อนที่จะนำข้อมูลออกจากสแตก จะต้องมีการตรวจสอบว่าใน สแตกมีข้อมูลเก็บ อยู่หรือไม่

DTS05-21/07/2009

เรื่อง Set and String

โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต
เป็น โครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มี ความสัมพันธ์กัน ในภาษาซี จะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้

ตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators) ประกอบด้วย
- set intersection
- set union
- set difference เป็นต้น

สมมติว่า ต้องการจัดตารางเรียน 4 วิชา ได้แก่ Math, English,Physics และ Chemistry ให้กับผู้ลงทะเบียนเรียน

วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น
- จะต้องกำหนดเซ็ตของผู้เรียนที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละวิชา
- นำเซ็ตดังกล่าวที่ได้มาทำการ intersection กัน หากมีเซ็ตใดที่ทำการ intersect กันแล้ว มีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่ จะไม่สามารถจัดให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้


โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (CharacterString) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริง
มี การนำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาธิการข้อความ(text editor) หรือโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) ซึ่งมีการทำงานที่อำนวยความสะดวกหลายอย่างเช่น การตรวจสอบข้อความ การจัดแนวข้อความในแต่ละย่อหน้า และการค้นหาคำ เป็นต้น



สตริงกับอะเรย์
สตริง คือ อะเรย์ของอักขระเช่น char a[6] อาจจะเป็นอะเรย์ขนาด 6 ช่องอักขระ หรือ เป็นสตริงขนาด 5 อักขระก็ได้ โดยจุดสิ้นสุดของ string จะจบด้วย \0 หรือ null character
เช่น
char a[ ]={‘H’, ‘E’, ‘L’, ‘L’, ‘O’, ‘\0’};
char a[ ]=“HELLO”;

การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ
1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว (String Constants)
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์

อะเรย์ของสตริง
ถ้า หากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปร

การกำหนดตัวแปร country จะแตกต่างกับการกำหนดตัวแปรอะเรย์ เพราะเป็นการกำหนดตัวแปรพอย
เตอร์ ขึ้น 4 ตัว โดยให้แต่ละตัวชี้ไปยังค่าคงตัวสตริงทั้ง4 ตัว โดยที่ contry[0] จะชี้ไปที่ข้อมูลแรก contry[1]จะชี้ข้อมูลที่สอง contry[2] จะชี้ข้อมูลที่สาม และcontry[3] จะชี้ข้อมูลตัวสุดท้าย
ในการเขียนค่าเริ่มต้น คือ ค่าคงตัวสตริง เขียนไว้ในเครื่องหมายวงเล็บปีกกา และข้อมูลในเครื่องหมาย
คำพูด คือ ค่าคงตัวสตริง


ฟังก์ชัน puts ( ) ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น
ข้อสังเกต
การ กำหนดอะเรย์ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจากขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์

อะเรย์ของ สตริงที่ยาวเท่ากันอะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริงและ สามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

เช่น
char fruit [3][7]={“Apple”, “Orange”, “Mango”};

กำหนด ตัวแปร fruit เป็นแบบ 3 แถว 7 คอลัมน์ ในแต่ละช่องจะเก็บข้อมูลแบบอักขระอะเรย์ของสตริงที่ยาวเท่ากัน อะเรย์ในลักษณะนี้จะถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง และสามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น และเมื่อกำหนดเป็นตัวแปร โดยดำเนินการตามแบบการกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

สิ่งที่ได้รับจากการเรียน : ได้ทราบถึงการนำ Set และ String สามารถนำมาใช้กับ อะเรย์ ได้

การบ้าน iostream.h

โปรแกรมแสดงสูตรคูณ


#include

int main() {

int x;

cout<<"===***Multiplication table***==="<<'\n'<<'\n';
cout<<"Enter your number(2-25):";
cin>>x;

for(int i=1;i<=12;i++)
cout<<<" t=" ">

return 0;
}

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS04-14/07/2009

set and string
เช็ตตัวดำเนินการของเซ็ต (Set operators)

ประกอบด้วย- set intersection- set union- set difference (ความแตกต่าง)

เช่น ต้องการจัดตารางเรียน 4 วิชา ได้แก่ Math, English,Physics และ Chemistry
ให้กับผู้ลงทะเบียนเรียน

=== ผู้ลงทะเบียนไม่สามารถลงทะเบียน 4 วิชาพร้อมกันได้ เพราะมาทำการ intersection กัน และมีเซ็ตใดที่ทำการ intersect กันแล้ว มีข้อมูลสมาชิกในเซ็ตที่ซ้ำกันอยู่ จะไม่สามารถจัดให้วิชาดังกล่าวอยู่ในวันเวลาเดียวกันได้สตริง String) หรือ สตริงของอักขระ เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายสตริงในภาษา C ก็คือ อาร์เรย์ของตัวอักษร ที่มีข้อมูลชนิดตัวอักษรเรียงกันไป แต่จะต้องมีจุดสิ้นสุดด้วย โดยจะใช้ตัวอักษรวางหรือ Null Character เป็นจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจะต่างจากอาร์เรย์ปกติที่ไม่ต้องมีจุดสิ้นสุดของอาร์เรย์การเก็บข้อมูลของสตริง การเก็บข้อมูลของสตริงนั้น


จะมีการเก็บข้อมูลอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นข้อมูลตัวอักษรโดยเก็บเรียงกันไป แบะส่วนที่ 2 จะเก็บจุดสิ้นสุดของสตริง ซึ่งจุสิ้นสุดของสตริงจะใช้ Null Characterหรือ ‘\0’การกำหนดตัวแปรสตริงในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์ เพราะ สตริงก็คืออะเรย์ของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0) และมีฟังก์ชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะฟังก์ชัน getch() ใช้รับตัวอักขระ 1 ตัวจากแป้นพิมพ์ แต่ขณะรับไม่แสดงทางจอภาพฟังก์ชัน gets() เป็นฟังก์ชันใช้สำหรับรับข้อมูลชนิด Stringหรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์รับข้อมูลที่เป็นข้อความจากเป็นฟังก์ชันที่ใช้ในการแป้นพิมพ์เข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรแบบอาเรย์การใช้ฟังก์ชัน gets(); จะต้องมีการประกาศตัวแปรแบบอาเรย์ และกำหนดจำนวนตัวอักษร ที่ต้องการป้อน โดยคอมพิวเตอร์จะจองพื้นที่ไว้ตามจำนวนตัวอักษร แต่จะป้อนได้น้อยกว่าที่จองไว้ 1 ตัว เพื่อให้ตัวแปรเก็บ 0 อีก 1อะเรย์ของสตริงถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียนโปรแกรมได้สะดวก


การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้นและแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรอะเรย์ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากันฟังก์ชันอื่นที่ใช้กับสตริงการใช้สตริงนั้น จะมีฟังก์ชันในการกระทำกับสตริงอีกมาก จะช่วยให้การทำงานนั้นสะดวดมากยิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสตริงนั้นจะต้องนำเข้าไลบรารีไฟล์ strintg.h ด้วยเสมอ ซึ่งมีฟังก์ชันต่าง ๆ ดังนี้คัดลอกสตริง ( strcpy, strncpy )


ในภาษา C จะมีฟังก์ชันในการคะดลอกสตริงหนึ่งไปใส่ในอีกสตริงหนึ่ง อยู่ 2 ฟังก์ชัน คือ strcpy และ strncpy ทั้ง 2 ฟังก์ชันนี้ จะเป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริง แต่ในฟังก์ชันที่ 2 สามารถกำหนดความยาวของสตริงที่ต้องการจะคัดลอกได้ strcpy ฟังก์ชัน strcpy เป็นฟังก์ชันในการคัดลอกสตริงพื้นฐาน การทำงาน คือ จะทำการคัดลอกสตริงต้นทั้งหมด ซึ่งจะรวมไปถึง Null Character ด้วย ไปใส่ในสตริงปลายทางโดยการประกาศฟังก์ชัน strcpy เป็นดังนี้char*strcpy (char *to_string, const char *from_string);ตัวอย่างด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างการใช้ฟังก์ชัน strcpy strcpy(s1,s2);

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03-23-06-2552

อะเรย์ เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบง่าย และเป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้าย เซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกับสมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก อะเรย์ ถือเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบสแตติค (Static data structure) โดยอะเรย์จะมีขนาดคงที่ เป็นแถวลำดับแบบอันดับ


อะเรย์หนึ่งมิติ เช่น char brand[10] โครงสร้างข้อมูลแถวลำดับที่มีการจัดเก็บข้อมูลต่อเนื่องกันไปเป็นแถวต่อเนื่องกันตลอด ซึ่งเปรียบเหมือนกับตารางแถวเดียว

อะเรย์สองมิติ เช่น char type[10][10] โครงสร้างข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลแบบตารางสองทางข้อมูลมีการจัดเรียงกันตามแนวแถว(Row) และ แนวหลัก (Column) การอ้างถึงข้อมูลต้องระบุตำแหน่งแถว และตำแหน่งหลักที่ข้อมูลนั้นอยู่

การนับ เช่น 1 2 3 4 5 คือ 0 1 2 3 4
0จะมีค่าเป็น 1

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02-23-06-2552

โครงสร้างข้อมูลคือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่อยู่ในโครงสร้างนั้นๆรวมทั้งกระบวนการในกรจัดการโครงสร้างข้อมูลภาษาขั้นตอนวิธี(Algorithm Language) เป็นภาษาสำหรับเขียนขั้นตอนวิธี มีรูปแบบที่สั่น กระชับและรัดกุม และมีข้อกำหนดดังนี้
1.ตัวแปรจะต้องเขียนแทนด้วยตัวอักษร หรือตัวอักษรผสมตัวเลข
2.การกำหนดค่าตัวแปร ใช้เครื่องหมาย
3.นิพจน์ที่เป็นการคำนวณจะมีลำดับขั้นของการคำนวณตามลำดับ คือวงเล็บ, ยกกำลัง, คูณหรือหาร, บวกหรือลบ เครื่องหมายระดับความสำคัญเท่ากัน คำนวณจากซ้ายไปขวา
4.ข้อความไปยังขั้นตอน ใช้รูปแบบ คือ goto เลขที่ขั้นตอน
5.การเลือกทำตามเงื่อนไข จะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อนทำงาน มีรูปแบบดังนี้-แบบทาเลือกเดียว ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1-แบบสองทางเลือก ใช้รูปแบบ คือif (condition) then statement 1else statement 26.การทำงานแบบซ้ำ-แบบทดสอบเงื่อนไขที่ต้นวงรอบ มีรูปแบบดังนี้while (condition) do statement-แบบทำซ้ำด้วยจำนวนครั้งของการทำซ้ำคงที่ มีรูปแบบfor a=b to n by c do7.คำอธิบาย เป็นข้อความที่อธิบายรายละเอียดของขั้นตอนการทำงาน จะอยู่ในเครื่องหมาย / และ /


struct Mornitor{

char brand[30];
char series[30];
int size;
int price;
int sharp;
char display[10];
int weight;
char color[20];
}
struct Mornitor = {"SONY","XLY204","21","3500","2000000","NTSC","8764","BlACK"};

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

ชื่อ:นาย ตะวัน เนาว์เย็นผล

รหัสนักศึกษา:50172792034

Mr.Tawan Nowyenpon



หลักสูตร การบริหารธุรกิจ คอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะวิทยาการการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต



E-mail : u50172792034@gmail.com